สแกนเนียมุ่งมั่นสู่การลดคาร์บอน

33

สแกนเนีย เผยหลัก 3 ประการ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผลักดันการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการขนส่งที่ยั่งยืน(Driving the shift towards a sustainable transport system) แม้สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกยังคงส่งผลกระทบธุรกิจอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างต่อเนื่อง แต่เป้าหมายด้านสู่ความยั่งยืนยังคงเดินหน้าต่อไป

นายโจฮัน  คลาสัน ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาดและหัวหน้างานด้านความยั่งยืน บริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด เปิดเผยว่า ในปี 2564 คาดว่าจะเป็นปีที่ยากลำบากของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยต่อเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 แต่ “สแกนเนีย” ผู้ผลิตรถเพื่อการพาณิชย์ขนาดใหญ่จากสวีเดน จะยังคงไม่ทิ้งเป้าหมายที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่ระบบการขนส่งที่ยั่งยืน ด้วยผลิตภัณฑ์ งานบริการ และเทคโนโลยีที่มีความพร้อมสำหรับธุรกิจลูกค้า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนของประเทศไทย ด้วยการนำหลักการขนส่งที่ยั่งยืน 3 ประการ มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งในระดับต่าง ๆ ได้แก่ 1. ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency) ซึ่งหมายถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ช่วยทำให้ใช้พลังงานน้ำมันสำหรับการเผาไหม้น้อยลง เมื่อเผาไหม้น้อยลงก็ปล่อยมลพิษน้อยลงไปด้วย แน่นอนว่าต้นทุนขนส่งก็ลดลงไปด้วย เป็นการช่วยเพิ่มผลกำไรให้ธุรกิจไปพร้อมกัน 2. เชื้อทางเลือกและพลังงานไฟฟ้า (Alternative Fuels and Electrification) โดยการพัฒนาการรองรับพลังงานทางเลือกและรถพลังงานไฟฟ้า ซึ่งแน่นอนว่าสามารถลดปริมาณการปล่อยมลพิษได้อย่างชัดเจนและ 3.การขนส่งที่ชาญฉลาดและปลอดภัย (Smart and Safe Transport) โดยสแกนเนียได้พัฒนาระบบการขนส่งอัจฉริยะและปลอดภัย เพราะนักขับคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดในธุรกิจขนส่ง ระบบอัจฉริยะที่ช่วยให้ขับขี่ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากจะช่วยลดอุบัติเหตุบนสังคมท้องถนนแล้ว ยังช่วยบริหารธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งทั้ง 3 หลักการด้านการขน ส่ง จะสามารถช่วยให้ระบบขนส่งของเราสะอาดปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นายโจฮัน กล่าวว่า “ตามความตกลงปารีส ปี 2559 มีหลายประเทศได้ร่วมลงนามกับองค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ทำให้สแกนเนียมุ่งมั่นอย่างมากที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสนับสนุนให้ทุกคนจริงจังกับความยั่งยืน เพราะมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป สภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ฝุ่น PM 2.5 รวมถึงการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกและภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลก ล้วนเกี่ยวข้องกับวิกฤตทางธรรมชาติ

“จุดประสงค์ของสแกนเนีย คือการผลักดันการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการขนส่งที่ยั่งยืนมากขึ้นไม่ว่าเราจะอยู่ในยุโรปหรือไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใดในโลกก็ตาม และมากกว่าร้อยละ 25 ของไอเสีย คาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดมาจากอุตสาหกรรมการจราจรและระบบการจราจรขนส่งทางบก โดยเรามุ่งมั่นในการเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา” นายโจฮัน กล่าว

ดังนั้นเพื่อเข้าสู่ระบบการขนส่งที่ยั่งยืนในแต่ละปีสแกนเนีย จึงได้ใช้งบประมาณจำนวนมากในการวิจัยและพัฒนาเพื่อความยั่งยืนพร้อมกับเพิ่มศักยภาพธุรกิจขนส่งให้กับลูกค้า แม้ในสถานการณ์โควิด-19 จะมีความรุนแรงต่อเนื่องยาว นาน แต่การดำเนินงานสู่ระบบการขนส่งที่ยั่งยืนยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยความร่วมมือและทำงานร่วมกับลูกค้าเพื่อคงความเป็นผู้นำด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสนับสนุนให้ลูกค้าของเราสามารถสร้างความแตกต่าง โดยการทำตลาดและให้บริการไปพร้อมกับธุรกิจที่ยั่งยืนโดยใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของสแกนเนีย

นายโจฮัน ยังให้ความเห็นว่า การขนส่งที่ยั่งยืนสามารถเพิ่มมูลค่าและโอกาสให้กับผู้ประกอบการขนส่งได้ พร้อมกับการลดมลพิษ จากที่ปัจจุบันการตั้งเป้าหมายการลดมลพิษเพื่อความยั่งยืน เป็นเรื่องที่บริษัทชั้นนำหลาย ๆ บริษัทมีอยู่ในแผนพื้นฐานทางธุรกิจ และสแกนเนียมีผลิตภัณฑ์และบริการที่พร้อมจะตอบโจทย์เหล่านั้นได้ “เรามีรถที่ตอบโจทย์ธุรกิจขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมงานบริการที่มีคุณภาพและระบบที่ช่วยวิเคราะห์เพื่อพัฒนาการขนส่งให้ดียิ่งขึ้น ให้ความยั่งยืน กับกำไรในธุรกิจดีขึ้นไปด้วยกัน”

ทั้งนี้เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา สแกนเนียได้เปิดตัวรถบรรทุกไฟฟ้าเต็มรูปแบบ สามารถเดินทางได้ไกลสูงสุดถึง 250 กิโลเมตร ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง และรถบรรทุกไฮบริด นอกจากนี้ ยังเปิดตัวเครื่องยนต์ V8 ใหม่ ที่พัฒนาให้มีกำลังสูงขึ้น แต่ปล่อยมลพิษน้อยลง ในตลาดยุโรปและอเมริกาใต้ แสดงให้เห็นว่าแม้ต้องประสบกับวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 แต่สแกนเนียไม่หยุดการพัฒนาด้านการขนส่งที่ยั่งยืน “ประเทศไทยมีทรัพยากรที่ดีสำหรับผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างไบโอดีเซล เนื่องจากเป็นประเทศเกษตรกรรม” และในปีเดียวกันสแกนเนียสามารถบรรลุการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับเป้าหมายของข้อตกลงปารีส (Science Based Targets initiative (SBTi) ได้สำเร็จ ซึ่งเป้าหมายที่ตั้งไว้คือการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนจากภายในองค์กรลงให้ถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อยคาร์บอนในปี พ.ศ.2558