มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประกาศเกียรติคุณ รางวัล TTF Award ประจำปี 2564-2565

28

มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประกาศเกียรติคุณ รางวัล TTF Award ประจำปี 2564-2565 ยกย่องผลงานวิชาการดีเด่น ร่วมสร้างสังคมแห่งความรู้

คุณประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย และ คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมด้วย ศ.ดร.ทพญ.ศิริวรรณ สืบนุการณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ร่วมมอบรางวัล TTF Award ประจำปี 2564-2565 (Toyota Thailand Foundation Award 2021-2022) เพื่อประกาศเกียรติคุณ และสนับสนุนผลงานทางวิชาการของนักวิชาการไทย เมื่อวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมโนโวเทล เพลินจิต กรุงเทพฯ

รางวัลมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย (TTF Award) เริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี พ.ศ.2538 ภายใต้ความร่วมมือของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาในระดับสูง และสนับสนุนให้นักวิชาการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อยกระดับมาตรฐานงานวิชาการของไทย โดยมุ่งหวังที่จะส่งเสริมสังคมไทยให้เป็น “สังคมแห่งความรู้” ด้วยการประกาศเกียรติคุณยกย่องผลงานวิชาการในสาขาต่างๆ พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดพิมพ์ผลงาน เพื่อเผยแพร่งานเขียนออกสู่สาธารณชน อันจะเป็นประโยชน์แก่นิสิต นักศึกษา อาจารย์ นักวิชาการ ตลอดจนบุคคลทั่วไป โดยตลอดระยะเวลากว่า 27 ปี มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยได้มอบรางวัลผลงานวิชาการดีเด่น และเผยแพร่งานเขียนวิชาการ อันทรงคุณค่าไปแล้วทั้งสิ้น 68 เล่ม

โดยในปีนี้ มีผลงานวิชาการที่ส่งเข้ารับการพิจารณารางวัล จำนวนทั้งสิ้น 136 ผลงาน โดยแบ่งออกเป็น

  • ด้านสังคมศาสตร์                                    จำนวน            58        ผลงาน
  • ด้านมนุษยศาสตร์                                    จำนวน           18        ผลงาน
  • ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ                            จำนวน            45        ผลงาน
  • ด้านสิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี      จำนวน            15        ผลงาน

ซึ่งคณะกรรมการได้พิจารณาผลงานวิชาการที่เห็นควรได้รับรางวัล TTF Award ประจำปี พ.ศ.2565
ทั้งสิ้น 4 รางวัล ซึ่งแบ่งออกเป็นแต่ละด้าน ดังนี้

  1. รางวัลด้านสังคมศาสตร์ (Social Science Award)

ผลงานเรื่อง “อัตลักษณ์เอกสาร วงศาวิทยาการควบคุมประชากรของรัฐไทย”

ผู้เขียน: รศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2) รางวัลด้านมนุษยศาสตร์ (Humanities Award)

ผลงานเรื่อง “ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย : ตะวันตกและไทย”

ผู้เขียน: รศ.สุธี คุณาวิชยานนท์

คณะจิตรกรรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

3) รางวัลด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science Award)

ผลงานเรื่อง “การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บก่อนถึงโรงพยาบาล”

ผู้เขียน: รศ.ดร.นายแพทย์ไชยพร ยุกเซ็น

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

4) รางวัลด้านสิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (Environment & Technological Science Award)

ผลงานเรื่อง “พันธุศาสตร์ระดับเซลล์”

ผู้เขียน: ศ.ดร.อลงกลด แทนออมทอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.ดร.กฤษณ์ ปิ่นทอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์

ผศ.ดร.อิสสระ ปะทะวัง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย กล่าวว่า “ ในปีนี้ เป็นโอกาสครบรอบ 30 ปี มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ซึ่งทางมูลนิธิฯ ยังคงยึดมั่นในเจตนารมณ์ในการช่วยเหลือสังคมไทย เพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืนในมิติต่างๆ อาทิ การศึกษา การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาส การสนับสนุน และส่งเสริมผลงานทางวิชาการ เป็นต้น โดยรางวัล TTF Award เป็นความภาคภูมิใจของมูลนิธิฯ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้นักวิชาการไทย โดยเฉพาะในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับความท้าทายนับไม่ถ้วน อาทิ ปัญหาสิ่งแวดล้อม โรคระบาด การเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรมและเทคโนโลยี ฯลฯ โดยผลงานทางวิชาการที่ได้ถูกจัดทำขึ้นจากการอุทิศตนค้นคว้าผลงานเพื่อยกระดับมาตรฐานงานวิชาการนั้น จะสามารถเป็นรากฐานในการแก้ไขปัญหา รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาต่างๆได้จริงเป็นเสมือนแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ อันจะนำไปสู่องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ โดยผลงานวิชาการดีเด่นที่ได้รับรางวัลเหล่านี้ ได้มีการเผยแพร่สู่สาธารณชนไปแล้วกว่า 60 เล่ม เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลศึกษาหาความรู้ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ

มูลนิธิฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารางวัล TTF Award จะเป็นแรงผลักดันให้นักวิชาการไทยสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ที่ทรงคุณค่าเท่าทันยุคสมัย ขับเคลื่อนให้เกิดสังคมแห่งความรู้และการพัฒนาคุณภาพผลงานทางวิชาการ อันจะนำไปสู่การสร้างสังคมที่ดีขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้สังคมไทยไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development  Goals) ต่อไป ”